หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Internet Fanfiction

Fiction มีความหมายในภาษาไทยว่า นิยาย คือเรื่องแต่งที่สร้างจากจินตนาการ โดยที่เหตุการณ์ เนื้อเรื่อง แตกต่างจากเรื่องจริงทั้งหมด
พูดถึงคำว่า นิยาย คนส่วนใหญ่ก็คิดไปถึงหนังสือนิยายเล่มใหญ่ๆ หนาๆ ที่นิยมในหมู่วัยทำงาน
นั่นคือ นวนิยาย หรือ Novel โดยเนื้อเรื่อง คำบรรยาย เหตุการณ์และการสนทนาที่สมจริง เหมือนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสังคมและสุดท้ายคือ Fan-Fiction ที่หลายคนเข้าใจผิดนะ

Fan-Fiction คือเรื่องที่แต่งขึ้นโดยแฟนการ์ตูนหรือแฟนนิยาย โดยอาศัยตัวละครและเหตุการณ์บางอย่างที่เกิดขึ้นในต้นฉบับ มาสร้างโคลงเรื่องใหม่ เพิ่มเติมเสริมเรื่องราวที่ต้องการลงไปใหม่
เพราะฉะนั้น คำว่า Fiction หมายถึงนิยายที่เป็นต้นฉบับแบบฉบับในตัวเอง
อาจเป็นเพราะว่าเราเรียก Fan-Fiction ว่า ฟิค จนเคยชิน เลยทำให้เกิดข้อเข้าใจผิด

ตัวอย่าง




Fiction ที่มีชื่อเสียง

ที่
คลับ
ประเภท
จำนวนเรื่องราว
1
หนังสือ
752K
2
อะนิเมะ / มังงะ
407K
3
หนังสือ
218K
4
อะนิเมะ / มังงะ
119K
5
อะนิเมะ / มังงะ
117K
6
รายการทีวี
116K
7
รายการโทรทัศน์
109K
8
เกม
88.8K
9
อะนิเมะ / มังงะ
83.3K
10
เกมส์
73.1K
11
รายการโทรทัศน์
72.2K
12
หนังสือ
69.5K
13
อะนิเมะ / มังงะ
66.6K
14
อะนิเมะ / มังงะ
58.8K
15
รายการโทรทัศน์
56.3K
16
หนังสือ
55.2K
17
รายการโทรทัศน์
49.5K
18
อะนิเมะ / มังงะ
48.7K
19
อะนิเมะ / มังงะ
47.9K
20
รายการโทรทัศน์
45.3K




ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.punica.co.th/bbs/viewthread.php?tid=1157

* ข้อมูลสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้
https://writer.dek-d.com/chinchang22/writer/viewlongc.php?id=605742&chapter=1
https://en.wikipedia.org/wiki/Fan_fiction



ดิจิตัลวิดีโอ

        วิดีโอ คือ มัลติมีเดียที่สามารถแสดงภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงบรรยายได้ การนำ เสนอวิดีโอมีหลายรูปแบบ เช่น วิดีโอเพื่อ การศึกษา วิดีโอ เพื่อความบันเทิง ประโยชน์ ของวิดีโอมีมากมาย นอกจากให้ความรู้ ให้ ความบันเทิง ยังสามารถ สร้างรายได้ให้กับผู้ ใช้งาน เช่น วิดีโอนำเสนอสินค้า ผลิตภัณฑ์ ต่างๆ เป็นต้น
         การทำงานของวิดีโอมีหลาย ประเภทซึ่งสามารถเลือกใช้ได้ตามความ เหมาะสมและความต้องการของผู้ใช้งาน  เพื่อให้เข้าใจและสามารถเรียนรู้พร้อมกับ สร้างวิดีโอได้ด้วยตนเองคุณจึงไม่ควรรอช้า ที่จะทำความรู้จักกับการสร้างวิดีโอด้วยตน เองการสร้างสรรค์ผลงานของตนเองด้วย วิดีโอ สามารถทำได้ง่ายหากทุกคนสามารถ เรียนรู้และเข้าใจการสอนใช้โปรแกรมการ สร้างผลงานในรูปแบบวิดีโอ เช่น วิดีโอสอน การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ วิดีโอการ สอนสำหรับครู วิดีโอนำเสนอผลงาน  Presentation วิดีโอWedding วิดีโอหนังสั้น ภาพยนตร์ ซึ่งโปรแกรมที่สามารถใช้สร้าง วิดีโอในปัจจุบันมีความหลากหลายให้ผู้ใช้ งานเลือกใช้เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของตนเอง




ชนิดของวิดีโอ แบ่งได้เป็น 2 ชนิด

          1.วิดีโออนาล็อก (AnalogVideo)   เป็นวีดีโอที่ทำการบันทึกข้อมูลภาพและ เสียงให้อยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้า มีลักษณะการบันทึกข้อมูลที่ให้ความคมชัดต่ำ กว่าวิดีโอแบบดิจิตอล วิดีโออนาล็อกจะใช้ เทป VHS (Video Home System) หรือ Hi –  8   ซึ่งเป็นม้วนเทปวีดีโอที่ใช้ดูกันตามบ้าน  เมื่อทำการตัดต่อข้อมูลจะทำให้ได้วิดีโอที่มี ความคมชัดต่ำ
           2. วีดีโอดิจิตอล (Digital Video)  เป็นวีดีโอที่ทำการบันทึกข้อมูลภาพและ เสียงด้วยการแปลสัญญาณคลื่นให้เป็นตัวเลข  0 กับ 1  คุณภาพของวิดีโอที่ได้จะมีความใกล้ เคียงกับต้นฉบับมาก ทำให้สามารถ  บันทึก ข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดี หรือ อุปกรณ์บันทึกข้อมูลอื่น ๆ และสามารถ แสดงผลบนคอมพิวเตอร์ ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ในการผลิตมัลติมีเดียบน คอมพิวเตอร์ สามารถเปลี่ยนรูปแบบของสัญญาณอนาลอกเป็นสัญญาณดิจิตอลได้  หากผู้ใช้มีทรัพยากรทางด้านฮาร์ดแวร์และ ซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมเท่านั้น

คุณสมบัติของวิดีโอ

วิดีโอมีคุณสมบัติที่สำคัญ  3 อย่างได้แก่   Image , Audio , Video
1.Image  ประกอบด้วยส่วนสำคัญ  2 อย่างคือ
            1.Width         คือความกว้างของภาพวิดีโอ (pixels)
            2.Height         คือความสูงของภาพวิดีโอ (pixels)
2.Audio   ประกอบด้วยส่วนสำคัญ   3  อย่าง  คือ
1.Duration     คือ ช่วงเวลาของเสียง (00.00.00)
2.Bit Rate      คือ อัตราการบีบอัดข้อมูลเสียง  (มีหน่วยเป็น  kbps)
3.Audio  Format     คือรูปแบบการเข้ารหัสไฟล์เสียง ( เช่น .mp3  , .wma , wav)
3.Video   ประกอบด้วยส่วนสำคัญ   4  อย่าง  คือ
1.Frame  Rate คือ  ความเร็วในการแสดงผลภาพเคลื่อนไหว  โดยมีหน่วยเป็นเฟรมต่อวินาที (Fps)
2.Data rate   คือ การบีบอัดข้อมูลเสียงและภาพวิดีโอ  โดยมีตัว เลขบอกเป็นกิโลบิตต่อวินาที (Kpbs) หากผู้ใช้งานกำหนดค่านี้สูงจะทำให้คุณภาพของเสียงและภาพมีความคมชัดยิ่งขึ้นแต่ขนาดไฟล์ก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้นด้วย
3.Video  Sample   Size  การแสดงผลความละเอียดต่อพิกเซล   โดยมีหน่วยเป็นบิต  (bit)
4.Video   compression  เป็นเทคโนโลยีการเข้ารหัส ข้อมูล ซึ่งมีผลโดยตรงต่อคุณภาพของวิดีโอ  และเป็นตัวกำหนดว่าวิดีโอนั้นจะใช้ฟอร์แมตใด




ขอขอบคุณข้อมูลจาก  
http://www.vdolearning.com/vdotutor/video-knowledge/89-what-is-video

การเล่าเรื่องด้วยสื่อดิจิตอล (Digital Storytelling)




         การเล่าเรื่องด้วยสื่อดิจิตอล (Digital Storytelling) เป็นคำที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ หลังจากที่เทคโนโลยีทำให้เครื่องมือต่างๆ เช่นกล้องถ่ายรูป โน๊ตบุ๊ค แท็บเบล็ต มีราคาถูกและแพร่หลาย การเล่าเรื่องด้วยสื่อดิจิตอลทำให้คนเราสามารถที่จะแบ่งปันแง่มุมต่าง ๆ ในชีวิตหรือจินตนาการกับผู้อื่นผ่านการผลิตวิดิทัศน์ แอนิเมชั่น ภาพถ่าย เสียงพูด หรือ ดนตรี ในรูปแบบของสื่อดิจิตอล ซึ่งสามารถเผยแพร่ผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
          เรื่องราวที่เล่าผ่านสื่อดิจิตอล มักจะประกอบด้วยภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง แอนนิเมชั่น ดนตรี และเสียงบรรยาย การเล่าเรื่องผ่านสื่อดิจิตอล เป็นกิจกรรมหลักอย่างหนึ่งของโครงการ ซัมซุง สร้างพลังการเรียนรู้ สู่อนาคต โดยที่นักเรียนอาจจะเป็นงานเดี่ยว หรืองานกลุ่ม และผลงานเหล่านี้ สามารถที่จะอัพโหลดไปไว้บนอินเทอร์เน็ตเพื่อเผยแพร่ได้ 


การเล่าเรื่องด้วยสื่อดิจิตอล (Digital Storytelling)



         การเล่าเรื่องด้วยสื่อดิจิตอล เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้ที่สร้างเนื้อหา และนำเสนอเนื้อหาให้เพื่อนๆ ในชั้น หรือผู้ชมได้เข้าใจในสิ่งที่ผู้เรียนต้องการนำเสนอ แน่นอน การเรียนที่ผู้เรียนจะต้องนำเสนอเนื้อหาและความเห็น ย่อมเป็นการวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ตั้งแต่การหาข้อมูลพื้นฐาน การรวบรวมความคิด จนไปถึงการทำเนื้อหา และวิธีการนำเสนอให้เข้าใจได้ง่ายและน่าสนใจในปีแรกของโครงการ เราได้เห็นการนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจมากมายจากโรงเรียนที่ร่วมในโครงการ เช่น เรื่องของเครื่องดนตรีของชาวม้ง การวิจัยชุมชนหลากหลายชาติพันธ์บริเวณลุ่มน้ำอิง ซึ่งนักเรียนจะต้องออกไปทำความเข้าใจกับบริบทและค้นหาข้อมูล สัมภาษณ์ชาวบ้านในชุมชน ซึ่งเป็นการพัฒนาทักษะสังคมและทักษะการฟังจับใจความ (Deep Listening) ไปในเวลาเดียวกัน หลังจากนั้น น้อง ๆ ก็ต้องนำข้อมูลที่ได้กลับมาประมวล ลำดับความคิด เพื่อนำเสนอเป็นเรื่องราวผ่านสื่อดิจิตอล

      การผลิตสื่อดิจิตอล ก็เป็นการพัฒนาทักษะอีกชุดหนึ่ง ทำให้นักเรียนได้มีโอกาสใช้เครื่องมือผลิตสื่อเพื่อนำเสนอเรื่องราว และแง่มุมของตนเองให้เพื่อน ๆ ฟัง การเล่าเรื่องแบบดิจิตอลทำให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะกับสื่อประเภทต่าง ๆ เช่นการตัดต่อวิดีโอ ภาพนิ่ง การให้เสียงประกอบ เป็นต้น

      Digital Storytelling ตามความมุ่งหมายของโครงการ จึงไม่ใช่การผลิตคลิปวิดีโอ หรือพัฒนาคนทำสื่อ เราหวังว่า ผู้เรียนจะได้มีโอกาสพัฒนาทักษะหลาย ๆ ด้านผ่านกระบวนการนี้ มีโอกาสค้นคว้าและฝึกการเรียนรู้และหาคำตอบได้ด้วยตัวเอง การผลิตสื่อเป็นกิจกรรมที่ทำให้นักเรียนต้องมีความเข้าใจเนื้อหา และมีความสามารถในการที่จะเล่าออกมาให้คนเข้าใจได้ เราหวังว่า กระบวนการนี้ จะเปลี่ยนการเรียนรู้จากการที่นักเรียนเป็นผู้รับความรู้อย่างเดียว (Passive Learner) เป็นผู้เรียนที่มีส่วนร่วม (Active Learner) และสามารถที่จะสร้างเนื้อหาใหม่ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อนได้ (Original Content)


หัวใจของกิจกรรมการเล่าเรื่องด้วยสื่อดิจิตอล (Digital Storytelling) อาจสรุปได้ในหนึ่งประโยคว่า

"ถ้าเธออธิบายอะไรให้ง่ายต่อการเข้าใจไม่ได้ เธออาจจะไม่เข้าใจสิ่งนั้นดีพอ"


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

http://www.samsungslc.org/article/digital-storytelling/