หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การพัฒนาบทเรียนเว็บเคว็สท์

                
Image result for เว็บเควสท์

                บทเรียนเว็บเควสท์ (WebQuest) เป็นกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เน้นการแสวงหาความรู้ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน ผู้สอนหรือ ผู้ออกแบบบทเรียน ไม่ได้ทำหน้าที่ ถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เรียน แต่เพียงฝ่ายเดียว แต่เป็นผู้จัดกลุ่ม เรียบเรียง และลำดับความรู้ต่าง ๆ  ให้อำนวยความสะดวก แก่ผู้เรียน เพื่อให้เข้าถึงความรู้นั้น ๆ  อย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน โดยมุ่งการแก้ปัญหาเป็นสำคัญ                  ความเจริญก้าวหน้าของเว็บเควสท์ในปัจจุบันพบว่า  ได้มีการพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี 1995 ดยมีเป้าหมายที่นำแหล่งความรู้ที่หลากหลายบนเครือข่าย World Wide Web มาใช้เป็นฐานในการัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยผู้เรียนแสวงรู้จากแหล่งความรู้ที่จัดไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน หรือกล่าวอีกในหนึ่งว่า เว็บเควสท์  เป็นกิจกรรมการเรียนการสอน  ที่เน้นการแสวงหาความรู้ดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐาน ในการปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนบนแหล่งต่างๆ ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  โดยมีผู้ให้คำนิยามไว้มากมายดังนี้                  ลักษณะของเว็บเควสท์ที่สำคัญคือ แสดงเพียงโครงร่างเนื้อหา เป็นกรอบของความรู้ที่ผู้เรียนต้องการหรือควรจะศึกษา ไม่ได้มุ่งแสดงเนื้อหารายละเอียดของความรู้นั้นๆ ที่ชี้ชัดลงไปโดยตรง ดังเช่นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทั่วๆ ไป ที่ผู้ออกแบบได้ระบุเนื้อหาเฉพาะเพียงกรอบ ของวัตถุประสงค์ เชิงพฤติกรรมที่ต้องการเท่านั้น วิธีการของเว็บเควสท์ในการเข้าสู่เนื้อหาความรู้ต่างๆ ได้โดยใช้ตัวเชื่อมโยงบนหน้าเว็บเพจหลัก ของกรอบโครงสร้าง เนื้อหาหลักที่ผู้ออกแบบจัดกลุ่ม เรียบเรียง และลำดับ ดังที่กล่าวไว้แล้วนั้นเชื่อมโยงไปยังแหล่งความรู้อื่น ๆ ในเว็บไซต์อื่นที่ผู้สอนหรือผู้ออกแบบพิจารณาเห็นว่า มีเนื้อหาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียน



ขั้นตอนในการออกแบบเว็บเคว็สท์


มีเว็บไซท์มากมายที่เกี่ยวกับขั้นตอนการออกแบบเว็บเคว็สท์ (http://webquest.sdsu.edu/
ทั้งนี้บางเว็บไซท์อาจจะเก่าไป ไม่สามารถเปิดดูได้ ควรทดสอบว่ายังเป็นเว็บไซท์ที่เปิดบริการอยู่หรือไม่
 การออกแบบเว็บเคว็สท์นั้น ไม่จำเป็นต้องรู้การเขียนโปรแกรม หรือการออกแบบหน้าเว็บเพจ การออกแบบ
เว็บเคว็สท์นั้นสามารถใช้เพียงโปรแกรม Microsoft Word และใช้ Insert Command ใน Tool Bar ด้านบน
 และ Insert a Hyperlink ผู้เรียนเมื่อจะเรียนรู้ผ่านเว็บเคว็สท์ที่ผู้สอนออกแบบไว้ ก็เพียงแต่กด Ctrl Key 
และคลิกบน Link ก็จะสามารถเรียนรู้ผ่านเว็บนั้นๆ ได้

ส่วนต่างๆ ของเว็บเคว็สท์ (Parts of a WebQuest)

การออกแบบ WebQuest ที่ดีจะต้องทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ชี้แนะ
และผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน เป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์ มีทางเลือกและแนวทางยืดหยุ่น
สำหรับผู้เรียนที่จะหาคำตอบและแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆ และเอื้อต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือ
ระหว่างผู้เรียน โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 7 ส่วน ดังต่อไปนี้

1 ) ขั้นบทนำ (Introduction)
ในขั้นนี้เป็นขั้นเตรียมผู้เรียนให้พร้อมและให้ข้อมูลพื้นฐานเพื่อเข้าสู่กิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อแสวงหาคำตอบ
 โดยทั่วไปจะเป็นการให้สถานการณ์ และให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ในขั้นต่อๆไป ตามที่ออกแบบไว้

2 ) ขั้นภารกิจ (Task)
ขั้นนี้เป็นขั้นการให้งานหรือภารกิจหรือสิ่งที่มุ่งหวังให้ผู้เรียนเรียนรู้ให้สำเร็จ ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญที่สุดของเว็บเควสท์
 ซึ่งเป็นภารกิจที่ผู้เรียนจะต้องดำเนินการตามกิจกรรมขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้ได้คำตอบ ส่วนนี้เป็นส่วนที่ให้เป้าหมาย
และจุดเน้นสำหรับผู้เรียน หากสนใจรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นภารกิจ สามารถศึกษาเพิ่มเติมจากเว็บไซท์
 http://webquest.sdsu.edu/taskonomy.html

3 ) ขั้นแหล่งข้อมูล (Information Resources)
ขั้นนี้เป็นการให้แหล่งข้อมูลที่จำเป็นสำหรับทำภารกิจในขั้นที่สองให้สำเร็จ เป็นแหล่งข้อมูลที่มีบน World Wide Web
 และที่ครูผู้ชี้แนะจัดเตรียมประกอบไว้เพิ่มเติม เพื่อว่าผู้เรียนจะสามารถนำความรู้เหล่านั้นมาแก้ปัญหาที่ได้รับมอบหมาย
ให้หาคำตอบได้

4 ) ขั้นกระบวนการ (Process)
ขั้นนี้เป็นขั้นการชี้แนะว่าผู้เรียนจะต้องมีกระบวนการและกิจกรรมใดบ้างเพื่อให้บรรลุภารกิจที่วางไว้ โดยให้ผู้เรียน
มีความคิดสร้างสรรค์ด้วย มีกิจกรรมที่นำไปสู่ความคิดขั้นวิเคราะห์ ขั้นสังเคราะห์ และขั้นประเมินผล กิจกรรมนั้น
ควรที่จะเน้นการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) และกระบวนการเรียนแบบร่วมมือ
 (Collaborative Learning) กระบวนการเหล่านี้จะต้องแตกย่อยให้เป็นขั้นตอนที่แน่นอนชัดเจน


5) ขั้นให้คำแนะนำ (Guidance)
ขั้นนี้เป็นขั้นให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลว่าเป็นอย่างไร ในขั้นนี้อาจนำเสนอในรูปแบบของคำถามที่ต้องการ
ให้หาคำตอบ หรือใบงานที่ต้องการให้ทำให้สมบูรณ์ นอกจากนี้ อาจเป็นตารางเวลา หรือแผนที่ ฯลฯ

6) ขั้นประเมินผล (Evaluation)
ในขั้นนี้ ควรกำหนดวิธีการประเมินไว้ เทคนิควิธีของเว็บเครสท์นั้น ผู้เรียนแต่ละคนอาจได้เรียนรู้เนื้อหาไม่เหมือน
กันหมดทุกอย่าง ดังนั้นจะต้องมีการกำหนดเกณฑ์การประเมิน (Evaluation Rublics) โดยพัฒนาตามวัตถุประสงค์
ของหลักสูตรและง่ายต่อความเข้าใจของผู้เรียน เป็นขั้นการประเมินว่าผู้เรียนสามารถหาคำตอบและบรรลุวัตถุประสงค์
ที่ตั้งไว้เพียงใด จะเน้นการวัดผลอย่างแท้จริง (Authentic Assessment) ซึ่งอาจเป็นในรูปของการประเมินเชิงมิติ
 (Rubrics) ที่มีการวางเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ชัดเจน ตัวอย่างการประเมินอย่างแท้จริง เช่น การจัดทำแฟ้มสะสมผลงาน
 (Portfolio) ซึ่งสะสมงานทั้งหมดที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน การสร้างแผนที่มโนมติ (Concept-map)
 ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงความคิดที่หลากหลาย การเรียนรู้โดยการแก้ปัญหา (Problem based Learning) การเรียนรู้
โดยอาศัยโครงงาน (Project-based Learning) ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่สำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้บน
 WebQuest การประเมินผลอย่างแท้จริงในสภาพจริง เป็นสิ่งที่สำคัญของการเรียนรู้ เป็นการประเมินกระบวนการ 
การประเมินผลการปฏิบัติงาน มากกว่าการวัดเพียงความรู้ ความจำ

7) ขั้นสรุป (Conclusion)
ขั้นนี้เป็นขั้นให้ผู้เรียนทำการสรุปความคิดรวบยอดที่ผู้เรียนหรือกลุ่มผู้เรียนได้ช่วยกันแสวงหาความรู้ หาคำตอบ
 และสร้างองค์ความรู้ขึ้นมา ทั้งนี้ขั้นสรุปนี้ควรเป็นขั้นที่ทำให้ผู้เรียนตระหนักว่าเขาควรจะเรียนรู้อะไรและแม้แต่กระตุ้น
ให้ผู้เรียนหาความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องในด้านนั้นๆ ต่อไปอีก

รูปแบบการเรียนรู้ในเว็บเควสท์ 

                   รูปแบบการเรียนรู้ในเว็บเควสท์สามารถสรุปได้ใน  3  ลักษณะ คือ  ลักษณะร่วมมือกัน  ลักษณะแข็งขันกันและลักษณะต่างคนต่างเรียน  ซึ่งผู้สอนควรออกแบบการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถเรียนแบบลักษณะร่วมมือกันเพื่อให้ผู้เรียนร่วมกันคิด  แก้ไขปัญหาร่วมประสบการณ์  และร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานออกมา

ประโยชน์ของการเรียนการสอนแบบเว็บเควสท์ 

  1. ช่วยเหลือ สนับสนุนเพื่อนสมาชิกอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล                 
  2. แบ่งปันแหล่งข้อมูล และวัสดุ รวมไปถึงกระบวนการในการจัดการข้อมูลข่าวสารต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล               
  3. มีการสนองตอบตามคำเรียกร้อง หรือช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างเป็นลำดับ           
  4. ท้าทายข้อสรุปของกันและกัน ร่วมกันขบคิด หาแนวทางที่ดีที่สุดร่วมกัน                 
  5. ผลักดันให้ไปสู่เป้าหมายร่วมกัน                 
  6. จะบรรลุเป้าหมายได้มาจากการร่วมแรงร่วมใจของทุกๆ คน               
  7. เชื่อมั่นในพลังของกลุ่ม ไว้ใจเพื่อนสมาชิก               
  8. เข้าใจปัญหาตรงกัน เพื่อไปสู่เป้าหมายร่วมกัน               
  9. ตัดความลังเลสงสัย และความคิดที่ว่า ทำเพราะต้องทำออกจากใจ

                    สรุปว่า เว็บเควสท์ เป็นเว็บที่มีการออกแบบให้มีกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีลักษณะการเรียนแบบสืบสอบ (Inquiry-Oriented)  กล่าวคือ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ความรู้จากการค้นคว้าด้วยตัวเองจากแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ทางอินเทอร์เน็ตที่จัดเตรียมไว้ในเว็บเควสท์ตามขั้นตอนที่กำหนด และมีลักษณะสำคัญ คือ เว็บเควสท์แสดงเพียงโครงร่างเนื้อหา เป็นกรอบของความรู้ที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาไม่ได้นำเอาของเนื้อหาในการเรียนใส่ลงไปในบทเรียน

 ขอขอบคุณข้อมูลจาก
           http://krunop.net/webquest/
           http://www.kruaree.in.th/
              นางอารี  ราชสาร ครู เชี่ยวชาญ 
              กลุ่มสาระฯการงานอาชีพและเทคโนโลยี
              โรงเรียนโนนหันวิทยายน อบจ.ขอนแก่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น