หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การเล่าเรื่องด้วยสื่อดิจิตอล (Digital Storytelling)




         การเล่าเรื่องด้วยสื่อดิจิตอล (Digital Storytelling) เป็นคำที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ หลังจากที่เทคโนโลยีทำให้เครื่องมือต่างๆ เช่นกล้องถ่ายรูป โน๊ตบุ๊ค แท็บเบล็ต มีราคาถูกและแพร่หลาย การเล่าเรื่องด้วยสื่อดิจิตอลทำให้คนเราสามารถที่จะแบ่งปันแง่มุมต่าง ๆ ในชีวิตหรือจินตนาการกับผู้อื่นผ่านการผลิตวิดิทัศน์ แอนิเมชั่น ภาพถ่าย เสียงพูด หรือ ดนตรี ในรูปแบบของสื่อดิจิตอล ซึ่งสามารถเผยแพร่ผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
          เรื่องราวที่เล่าผ่านสื่อดิจิตอล มักจะประกอบด้วยภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง แอนนิเมชั่น ดนตรี และเสียงบรรยาย การเล่าเรื่องผ่านสื่อดิจิตอล เป็นกิจกรรมหลักอย่างหนึ่งของโครงการ ซัมซุง สร้างพลังการเรียนรู้ สู่อนาคต โดยที่นักเรียนอาจจะเป็นงานเดี่ยว หรืองานกลุ่ม และผลงานเหล่านี้ สามารถที่จะอัพโหลดไปไว้บนอินเทอร์เน็ตเพื่อเผยแพร่ได้ 


การเล่าเรื่องด้วยสื่อดิจิตอล (Digital Storytelling)



         การเล่าเรื่องด้วยสื่อดิจิตอล เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้ที่สร้างเนื้อหา และนำเสนอเนื้อหาให้เพื่อนๆ ในชั้น หรือผู้ชมได้เข้าใจในสิ่งที่ผู้เรียนต้องการนำเสนอ แน่นอน การเรียนที่ผู้เรียนจะต้องนำเสนอเนื้อหาและความเห็น ย่อมเป็นการวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ตั้งแต่การหาข้อมูลพื้นฐาน การรวบรวมความคิด จนไปถึงการทำเนื้อหา และวิธีการนำเสนอให้เข้าใจได้ง่ายและน่าสนใจในปีแรกของโครงการ เราได้เห็นการนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจมากมายจากโรงเรียนที่ร่วมในโครงการ เช่น เรื่องของเครื่องดนตรีของชาวม้ง การวิจัยชุมชนหลากหลายชาติพันธ์บริเวณลุ่มน้ำอิง ซึ่งนักเรียนจะต้องออกไปทำความเข้าใจกับบริบทและค้นหาข้อมูล สัมภาษณ์ชาวบ้านในชุมชน ซึ่งเป็นการพัฒนาทักษะสังคมและทักษะการฟังจับใจความ (Deep Listening) ไปในเวลาเดียวกัน หลังจากนั้น น้อง ๆ ก็ต้องนำข้อมูลที่ได้กลับมาประมวล ลำดับความคิด เพื่อนำเสนอเป็นเรื่องราวผ่านสื่อดิจิตอล

      การผลิตสื่อดิจิตอล ก็เป็นการพัฒนาทักษะอีกชุดหนึ่ง ทำให้นักเรียนได้มีโอกาสใช้เครื่องมือผลิตสื่อเพื่อนำเสนอเรื่องราว และแง่มุมของตนเองให้เพื่อน ๆ ฟัง การเล่าเรื่องแบบดิจิตอลทำให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะกับสื่อประเภทต่าง ๆ เช่นการตัดต่อวิดีโอ ภาพนิ่ง การให้เสียงประกอบ เป็นต้น

      Digital Storytelling ตามความมุ่งหมายของโครงการ จึงไม่ใช่การผลิตคลิปวิดีโอ หรือพัฒนาคนทำสื่อ เราหวังว่า ผู้เรียนจะได้มีโอกาสพัฒนาทักษะหลาย ๆ ด้านผ่านกระบวนการนี้ มีโอกาสค้นคว้าและฝึกการเรียนรู้และหาคำตอบได้ด้วยตัวเอง การผลิตสื่อเป็นกิจกรรมที่ทำให้นักเรียนต้องมีความเข้าใจเนื้อหา และมีความสามารถในการที่จะเล่าออกมาให้คนเข้าใจได้ เราหวังว่า กระบวนการนี้ จะเปลี่ยนการเรียนรู้จากการที่นักเรียนเป็นผู้รับความรู้อย่างเดียว (Passive Learner) เป็นผู้เรียนที่มีส่วนร่วม (Active Learner) และสามารถที่จะสร้างเนื้อหาใหม่ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อนได้ (Original Content)


หัวใจของกิจกรรมการเล่าเรื่องด้วยสื่อดิจิตอล (Digital Storytelling) อาจสรุปได้ในหนึ่งประโยคว่า

"ถ้าเธออธิบายอะไรให้ง่ายต่อการเข้าใจไม่ได้ เธออาจจะไม่เข้าใจสิ่งนั้นดีพอ"


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

http://www.samsungslc.org/article/digital-storytelling/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น